Monday, June 25, 2012

เทพ DIY ของ ชาว RANGER CLUB

http://www.newrangerclub.com/thread-14470-1-1.html

วันเกิดกับเลขทะเบียนรถ

http://www.langrod.com/news/article/2828.htm
http://www.tabiendee.com/article_02.php
http://www.mahamongkol.com/content/content.php?category=9

D.I.Y : พรมดักฝุ่นปูพื้นรถในราคาไม่ถึง 360 บาท

http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2010/01/V8804263/V8804263.html

ล้างรถถูกวิธี....ยืดอายุสีคงความเงางาม

http://variety.teenee.com/foodforbrain/1554.html

DIY แก้ไลเนอร์กินสี

http://www.newdmax-club.com/index.php/topic,8198.0.html

เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนต้องทำอย่างไร



เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าเราจะเป็นคนขับ ผู้โดยสารหรือผู้เห็นเหตุการณ์ เราควรปฎิบัติอย่างไร
1. ถ้าเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ควรเข้าช่วยเหลือคนป่วยเจ็บตามสมควร และเราจะต้องแสดงตัวเป็นพลเมืองดี โดยยินดีที่จะเป็นพยานในคดีให้ สมมุติว่าเราเห็นรถคันหนึ่งชนคนแล้วหนี สิ่งที่เราควรช่วยหลือจับกุมคนที่ทำผิดได้ก็คือ พยายามจดทะเบียนรถ ชื่อยี่ห้อ สีรถที่ชนไว้ได้แล้วรีบแจ้งให้ตำรวจทราบเพื่อติดตามจับกุมต่อไป มีพลเมืองดีบางท่านถึงกับขับรถตามจับคนขับ ที่ชน คนแล้วหนีได้ คนประเภทนี้ควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อสังคม
2. ถ้าท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน ท่านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียกับข้อ 1. สิ่งแรกคือท่านจะต้องขอร้องให้คนอื่น หรือตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ที่สุดเพื่อช่วยชีวิตเขาไว้ก่อน ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาภายหลัง แต่ถ้าเจ็บเล็กน้อยพอยอมความได้ก็ยอมเสีย เพื่อมิให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่จะต้อง พยายามขอชื่อหรือจำทะเบียนรถคันที่ชนเราไว้ให้ได้ เพราะถ้าหากผู้ขับขี่เบี้ยวเราภายหลัง เราจะได้จัดการเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย มิฉะนั้นแล้วจะไม่รู้ว่าจะไปฟ้องร้องเขาจากใคร ที่ไหน
3. ถ้าท่านเป็นคนขับ ถ้าท่านเป็นคนขับรถชนกัน สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ อย่าหนีเป็นอันขาด เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้น ไม่ใช่ เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไร ควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนี นานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนตาย แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดี บางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ ถ้าท่านเป็นคนดีมีน้ำใจ
หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
  • ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เช่น ขับรถชนคนก็ต้องหยุดรถ ช่วยเหลือคนที่ถูกชน นำส่งโรงพยาบาลเท่าที่จะทำได้
  • ต้องไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที คือต้องรีบไปแจ้งตำรวจที่ใกล้เคียงทันที แต่ต้องบอกตำรวจด้วยว่าเราเป็นคนขับรถอะไร
  • แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่หมายเลขทะเบียนรถ แก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย
  • ถ้าผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายให้สันนิฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด และตำรวจมีอำนาจยึดรถที่ขับไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
  • ถ้าคนขับคนใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ( 1), (2) และ (3) แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าคนที่ถูกชนบาดเจ็บสาหัสหรือตาย ต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท
4. ถ้ารถท่านมีประกันท่านตัองรีบติดต่อกับบริษัทประกันของท่านทันที เพราะบริษัทประกันเขาจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมมูลเพื่อเอาไว้ต่อสู้คดี
5. ถ้ามีกล้องถ่ายรูปหรือหากล้องถ่ายรูปใกล้ที่เกิดเหตุได้ต้องรีบถ่ายรูปรถ และที่เกิดเหตุไว้ให้พร้อมเพื่อจะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีต่อไป และหากมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้งหรือมูลนิธิร่วมกตัญญูถ่ายภาพศพหรือที่เกิดเหตุไว้ ก็ให้ติดต่อขอภาพที่ถ่ายเก็บไว้ให้ได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีในภายหลัง
6. ควรช่วยเหลือคนเจ็บหรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ คนขับรถ มักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ ความจริงเมื่อเราขับรถชน คนตาย บาดเจ็บ หรือการขับรถโดยประมาทนั้น เรามีความผิดทั้งทางกฎหมายแพ่ง และอาญา
  • ทางอาญา เราอาจจะต้องรับโทษติดคุกติดตะราง
  • ทางแพ่ง เราจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับเขาอีก คือติดคุกแล้วยังจะต้องเสียเงินให้กับ ฝ่ายคนเจ็บ คนตายเขาอีก ทีนี้ถ้าหากเราช่วยเหลือคนเจ็บ หรือใช้ค่าทำศพคนตายแล้ว มีผลดียังไง ตอบได้ว่า มีผลดีมาก ยกตัวอย่าง เช่น
    - เราขับรถชนคนบาดเจ็บไปโรงพยาบาล ต่อมาอัยการฟ้องเราต่อศาล เราก็แถลงต่อศาลว่าเราช่วยเหลือคนเจ็บ ส่งโรงพยาบาล ส่วนมาก ศาลจะเห็นว่า เราเป็นคนดีมีน้ำใจ ศาลก็อาจจะรออาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา แต่ถ้าเราชนแล้วหนี ส่วนมาก ศาลมักจะจำคุกเราเลย เพราะเห็นว่าเราเป็นคนแล้งน้ำใจ
    - การตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มากยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่า ไม่ให้คืนรถของกลางให้แก่ผู้ต้องหา จนกว่า ผู้ต้องหา จะพยายาม ตกลงกับฝ่ายผู้เสียหาย และถ้าหาก เราชดใช้ค่าเสียหาย จ่ายค่าทำศพให้เขา คดีแพ่งก็ระงับ เพราะถือว่า ยอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเราในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว และถ้าเราถูกฟ้อง คดีอาญาต่อศาล ผู้เสียหาย จะมาแถลงต่อศาลว่า เราได้ชดใช้ค่าเสียหายให้เขาแล้ว ส่วนมากแล้ว ศาลจะปรานีจำเลย โดยตัดสินให้รออาญาแก่จำเลย เห็นหรือยังว่า การช่วยเหลือคนเจ็บ และการมีน้ำใจนั้นดีอย่างไร

แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมการประกันภัย

ล๊อคสองชั้น BT-50Pro


กดปุม เปิด และ ปุ่มปิด บนรีโมท พร้อมกัน ค้างไว้ ประมาณ 30 วินาที ให้สัญญาณไฟเลี้ยวกระพริบตอบสนอง สักพัก
จะเป็นการตั้ง ให้ รีโมททำงาน คือ กดเปิด 1 ครั้ง จะเปิดด้านคนขับ กดครั้งที่ 2 จะเปิดฝั่งผู้โดยสาร 
วิธียกเลิก ทำเหมือนเดิมคือกดเปิดและปิดพร้อมกัน ค้างไว้ 30 วินาที

http://www.bt-50club.com/thread-5051-1-1.html

ติดกล้องมองหลัง แบบไม่ต้องแกะ ไม่ต้องถอด

http://www.allnewrangerclub.com/board/viewtopic.php?f=9&t=422

เจ้าตลาดดีกว่าตรงใหน ? Hi-Racer DBL 2.2 MT vs Prerunner Champ 4dr. 2.5E Prerunner

http://bt-50club.com/thread-561-1-1.html

แฉสารพัดวิธี “แก๊งลักรถ” ดีแมคซ์-วีออส แชมป์รถหาย!!!

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000068482

Monday, June 18, 2012

รันอินรถใหม่สำคัญอย่างไร


http://www.allnewrangerclub.com/board/viewtopic.php?f=8&t=34

รถยนต์ เป็นสิ่งเป็นสิ่งที่มีมูลค่า รถสวยๆ มีมูลค่าพอๆ กับบ้านสวยๆ ใครก็ตามที่ตัดสินใจควักเงินซื้อรถมาเป็นสมบัติก็ย่อมอยาก ให้รถของตนเองมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสิ่งที่มีผลโดยตรงกับอายุการใช้งานขอรถก็คือการบำรุงรักษารถอย่างถูกวิธีซึ่งมัน ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพียงแต่ เจ้าของรถต้องทำความเข้าใจ และดูแลมันเป็นพิเศษเท่านั้น

รถยนต์เกิดจากชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบกันจนเป็นระบบกลไก ซึ่งแต่ละชื้นส่วนมีมาตรฐานในการผลิต แต่ไม่ได้เท่ากันหมด จึงจำเป็นต้องมีการเผื่อเหลือเผื่อขาดบ้าง ดังนั้นเมื่อชิ้นส่วนประกอบกันใหม่ๆ จึงอาจจะเกิดความฝืดของอุปกรณ์ รถยนต์ทุกคัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการ รันอิน ซึ่งก็คือ การใช้งานอย่างถูกวิธีเพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆเข้าที่ แต่บางครั้งบางคนอาจจะได้ ยินมาว่ารถสมัยใหม่ไม่ต้องการการรันอิน เพราะมีการรันอินมาจากโรงานแล้ว ความเข้าใจนี้อาจจะถูก แต่ไม่ใช่ทั้งหมดอย่าลืมว่า เครื่องยนต์เป็นเพียงระบบหนึ่งของรถเท่านั้น ยังมีระบบอื่นๆ อีก เช่น เกียร์ เบรค กันกระเทือน ซึ่งต้องการรันอินเช่นกัน

โดยทั่วไปแล้ว การรันอินจะใช้ระนะทางประมาณ 2000 กิโลเมตร ซึ่งในช่วงเวลานี้ พวงมาลัยอาจจะฝืด เข้าเกียร์ยากเบรคแข็งกินน้ำมันมาก อาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะ ชิ้นส่วนต่างๆ กำลังประตัวเข้ากัน และท่านที่ทำการบำรุงรักษาช่วงนี้อย่างถูกวิธี จะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆทำงานเข้ากันอย่างสมบูรณ์ รถของท่านจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นและในทางกลับกัน ถ้าท่านทำ การทำการบำรุงรักษาในช่วงนี้ผิดวิธี อายุการใช้งานของรถท่านก็จะลดลงอย่างน่าเสียดาย

ขอนำเสนอการรันอินอย่างถูกวิธี ซึ่งได้แยกออกเป็นข้อๆ ดังนี้
การรันอินระบบเครื่องยนต์
1. ในการสตาร์ทครั้งแรกหลังจากจอดรถมาเกินกว่า 6 ชั่วโมง อย่าเหยียบคันเร่งหลังเครื่องยนต์ติด ไฟสัญญาณเตือนต่างๆ ดับหมด ควรรอต่อสัก 10-15 วินาที ก่อนออกรถเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ทำงาน และไม่เปิดแอร์โดยทันที ควรเคลื่อนรถให้วิ่งก่อนสัก 2-3 นาที จึงเปิดแอร์
2. ไม่ควรเร่งเครื่องอยู่กับที่ และไม่ควรขับโดยใช้รอบเดินเครื่องสูงกว่า 4000 รอบต่อวินาที 3. อย่าออกรถอย่ารุนแรง

4. ในการเดินทางไกล ไม่ควรใช้ความเร็วรอบคงที่ติดต่อกันเกิน 5 นาที ควรเปลี่ยนใช้ความเร็วรอบเครื่องที่ต่างๆ กันแต่อย่าให้เกิน 4000 รอบ

5. หลังจากการเดินทางไกล ก่อนดับเครื่องควรปล่อยให้เครื่องเดินเบาก่อนสัก 10-15 วินาที จึงดับเครื่อง และอย่าเร่งเครื่องก่อนดับ ดังที่คนส่วนใหญ่ทำกัน เพราะจะทำให้น้ำมันเบนซินไปค้าที่หัวลูกกระบอกสูบชะล้างเอาน้ำมันหล่อลื่นที่แหวนลูกสุบออก จะทำให้เกิดความเสียหายได้

6. อย่าเติมหัวเชื้อหรือน้ำมันอื่นๆ ลงในเครื่องยนต์เพราะเครื่องยนต์ช่วงนี้ยังต้องการให้ชิ้นส่วนต่างๆได้เสียดสีกัน เช่น แหวนกับกระบอกสูบ เพื่อการเข้าที่ของชิ้นส่วน การเติมหัวเชื้อ หรือน้ำมันที่ผิดจากโรงงาน จะทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้
7. หมั่นเช็คระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำทุกๆ สัปดาห์

การรันอินระบบครัตช์

1. ให้ยกเท้าจากคันครัตช์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
2. เวลาที่ต้องการจอดรถ ไม่ควรเหยียบครัตช์แช่ไว้ควรเข้าเกียร์ว่าง และยกเท้าออกจากครัตช์
3. อย่าใช้ครัตช์แทนเบรคในการชะลอรถ ยกเว้น ยกเว้นกรณีที่ขับรถลงเนินหรือเขา
4. อย่าลากรถที่หนักกว่ารถท่าน หรือใหญ่กว่า

การรันอินระบบเฟืองท้าย และเกียร์

1. อย่าเพิ่มหัวเชื้อน้ำมันใดๆ ลงในห้องเกียร์จนกว่าจะพ้นระยะรันอิน
2. ในการเปลี่ยนจากเกียร์เดินหน้าเป็นเกียร์ถอยหลัง หรือในทางกลับกัน ต้องให้รถหยุดสนิทเสียก่อน
3. ในการเข้าเกียร์ถอยหลัง หลังจากเหยียบครัตช์จนสุดแล้ว ให้รอถึง 2-3 วินาทีเพื่อให้ราวเกียร์หยุดสนิทจึงค่อยเข้าเกียร์ถอยหลัง
4. ในการขับทางไกลควรพักรถประมาณ 5 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการลดความร้อนห้องเกียร์และเฟืองท้าย
5. สำหรับเกียร์อัตโนมัติ มีข้อแนะนำเพิ่มเติมดังนี้

- ในขณะที่เข้าเกียร์จากเกียร์ว่างเป็นเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง ควรเหยียบเบรคให้รถหยุดสนิท และเร่งเครื่องช้าๆ หลังจากเข้าเกียร์แล้ว

- อย่าเข้าเกียร์ว่างขณะรถเคลื่อนที่ เพราะอาจจะทำให้ระบบเกียร์เสียหายเนื่องจากไม่มีน้ำมันความดันสูง

การรันอินระบบเบรค

1. อย่าใช้เบรคอย่างรุนแรงถ้าไม่จำเป็น
2. อย่าเบรคโดยการปั๊มเบรค
3. ควรพักเบรคเป็นระยะๆ ถ้าใช้งานติดต่อกัน เช่นการลงเขา ควรยกเท้าออกสัก 1 วินาที หลังจากทุก 10 วินาที
ถ้าพบว่ามีเบรคมีประสิทธิภาพต่ำลงมาก ควรจอดรถทันทีห้ามดึงมือเบรค เพราะในขณะนี้จานเบรคจะร้อนและขยายตัว ถ้าดึงมือเบรคค้างไว้เมื่อจานเบรคเย็นจะหดตัวและรัดผ้าเบรคจนปลดเบรคมือไม่ได้ ในการลงเขานั้น ควรใช้การเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ต่ำช่วย
4. ในการใช้งานในการใช้งาน ควรใช้เบรคมืออย่างสม่ำเสมอ เพราะการใช้เบรคมือเป็นการปรับระยะของผ้าเบรค
5. ตรวจดูเบรคมือให้ปลดลงสุดก่อนการออกรถ ในการปลดเบรคหรือดึงเบรคมือควรกดปุ่มที่ปลายเพื่อป้องกันเฟืองสึกหรอ
6. ควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรคทุกๆ สัปดาห์

การรันอินระบบพวงมาลัย และกันสะเทือน

1. อย่าหมุนพวงมาลัยขณะรถอยู่กับที่โดยไม่จำเป็น
2. อย่าขับรถข้ามทางรถไฟ หรือทางที่เป็นหลุม บ่อ เกินความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. อย่าบรรทุกของเกินพิกัดที่กำหนดไว้ในสมุดคู่มือ
4. หมั่นตรวจลมยางทุกๆ 2 สัปดาห์ และก่อนเดินทางไกล
5. จงหลีกเลี่ยงการขับทับเศษแก้ว และโลหะ
6. อย่าออกรถ หรือเบรคอย่างรุนแรงจนยางเสียหาย

การรันอินระบบไฟฟ้า
1. ตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นของแบตตารี่ทุกๆ สัปดาห์ ระวังอย่าเติมน้ำกลั่นจรเกินกำหนด
2. อย่าสตาร์ทเครื่องซ้ำขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน
3. ทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เช่น ไล่ฟ้ากระจกหลัง กระจกไฟฟ้า หรืออื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ
4. หมั่นสังเกตไฟเตือน และเกจ์วัดต่างๆ ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่

การรันอินตัวถังและภายใน
1. อย่าจอดรถใต้ต้นไม่ เพราะนอกจากนกจะถ่ายรดแล้ว ยางของไม้ยังเป็นตัวการทำลายสีรถ
2. อย่าให้ไฟกลางเก๋งทำงานเกิน 5 นาที เพราะความร้อนจะทำความเสียหายได้ ถ้าต้องเปิดประตูทิ้งไว้ควรปิด
สวิทซ์ไฟเก๋ง
3. ในการปิดประตู อย่ากระแทกประตูแรงๆ ควรใช้การดึง หรือดันเข้า
4. ไม่ควรจอดรถทิ้งไว้หลังจากล้างเสร็จใหม่ๆ แต่ควรออกวิ่งเพื่อให้น้าที่ขังตามซอกมุมต่างๆแห้งสนิท

* อื่นๆ ทั่วไป
1. ควรศึกษาการใช้งานรถและอุปกรณ์ต่างๆ จากคู่มือประจำรถ
2. ในกรณีที่ต้องติดอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของศูนย์เสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหาย
3. ควรมีสมุดบันทึกเล็กๆ เก็บไว้ในรถเพื่อใช้บันทึกความผิดปกติที่ท่านสังเกตเห็น เพื่อแจ้งช่างอย่างครบถ้วน
4. จงปิดวิทยุแล้ววิ่งรถ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อฟังเสียงผิดปรกติของเครื่องยนต์
5. เมื่อถึงกำหนดเช็คระยะ อย่าลืมนำรถเข้ารับบริการ

แม้เทคโนโลยีด้านโลหะวิทยาจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องยนต์ในยุคปัจจุบันมีความทนทานมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรละเลยการรัน-อิน อย่างถูกวิธี เพราะมีผลต่ออายุการใช้งานของรถในระยะยาว

รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องมี ระยะ รัน-อิน หมายถึง การใช้งานในระยะแรกอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนมีการปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม การใช้งานแบบเต็มกำลังตั้งแต่แรก ทำให้มีการสึกหรอสูงและรวดเร็วมาก เพราะชิ้นส่วนต่างๆยังไม่เข้าที่ เพียงแต่ในปัจจุบันนี้ได้ลดระยะทางในการรัน-อินจากแต่ก่อนมากแล้ว

++อดใจสักนิด อย่าเพิ่งลากรอบ++

ระยะทาง 0-1,000 กิโลเมตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 2,500 - 3,000 รอบ/นาที หรือเปลี่ยนความเร็วรอบขึ้น-ลงแบบกระทันหันโดยไม่จำเป็น การเปลี่ยนจากเกียร์ต่ำขึ้นสู่เกียร์สูง ควรทำอย่างนิ่มนวลที่ระดับ 2,500 รอบ/นาที แล้วถอนคลัตช์ช้าๆ ส่วนการเปลี่ยนจากเกียร์สูงลงสู่เกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์สัมพันธ์กับความเร็ว ไม่ควรเปลี่ยนลงเกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์และเครื่องยนต์ช่วยเบรก ถ้าต้องการเบรกให้เหยียบเบรกตามปกติ ในช่วง 0 - 5,000 กิโลเมตร ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 4,000 รอบ/นาที

เมื่อถึงระยะ 1,000 กิโลเมตร ให้ถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองทิ้งท้าย เพื่อเอาเศษสกปรกที่หลุดจากชิ้นส่วนต่างๆและปะปนอยู่ในน้ำมันออก(แม้บางศูนย์บริการจะไม่ระบุไว้ก็ตาม)

++รถยนต์ป้ายแดงกับการเดินทางไกล++

การเดินทางไกลกับรถยนต์ใหม่ สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังไม่พ้นระยะรัน-อิน การเดินทางไกลกับการใช้รอบเครื่องยนต์ในรถยนต์ใหม่ อาจมีความเข้าใจผิดในหลายกรณี โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว ผู้ใช้ส่วนหนึ่งคิดว่า ในเมื่อเดินทางไกลมักใช้ความเร็วสูง แล้วจะควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้อย่างไร เพราะถ้าขับเร็วก็น่าจะต้องใช้รอบสูงด้วย แต่ความจริงไมได้เป็นเช่นนั้น

การขับด้วยรอบเครื่องยนต์ระดับปานกลาง ก็สามารถไต่ขึ้นสู่ความเร็วตามกฎหมายกำหนดได้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในความเร็วระดับ 90 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเกียร์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติมักใช้รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500 - 3,000 รอบ / นาที เท่านั้น ซึ่งไม่สูงเกินไป การเดินทางไกลมีข้อดี คือ สามารถขับได้อย่างนุ่มนวล และควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ไม่ควรขับแช่ที่ความเร็วเดียวกันต่อเนื่องนานๆ ควรเปลี่ยนแปลงความเร็วบ้าง โดยอาจสลับด้วยกาสรผ่อนความเร็วลงเล็กน้อย

สำหรับกรณีคับขัน เช่น ต้องเร่งแซงหลบหลีก ก็สามารถกดคันเร่งได้เลย ไม่ต้องเน้นรักษารอบเครื่องยนต์มากเกินไป จนขาดความปลอดภัยหรือถูกชน

++อย่าไว้ใจ.....แม้เป็นป้ายแดง++

รถยนต์ส่วนใหญ่มักมีการผลิตครั้งละเป็นจำนวนมากๆ แม้มีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ก็ยังอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นเจ้าของรถป้ายแดงจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าพบความผิดปกติจะได้เคลมก่อนหมดประกัน

เทคนิคการเติมน้ำมัน



  1. ควรเติมน้ำมันตอนเช้ามืดหรือตอนค่ำแล้วถ้าเลือกได้คือให้อุณหภูมิบนพื้นดินเย็นนะครับจะได้mass(เรียกถูกป่าวไม่รู้)ที่เต็มกว่า
  2. ขณะเติมน้ำมัน อย่าให้เด็กปั๊มตั้งหัวฉีดอยู่ในตำแหน่งเร็วสุด เพราะเราจะเห็นว่ากลไกเหนี่ยวมี 3 ระดับกาศเย็น คือ low, middle,higt เมื่อตั้งในระดับไหลช้า จะเกิดไอระเหยของน้ำมันน้อยที่สุดหากตั้งในระดับไหลเร็ว น้ำมันบางส่วนจะกลายเป็นไอระเหยและถูกสูบย้อนกลับไปยังถังใ้ต้ดิน นั่นหมายถึงเราจ่ายเงินมากกว่าที่ควร
  3. เติมน้ำมันแค่ครึ่งถังก็พอเพราะเติมมากไปก็หนักรถเฉยๆ 
  4. ถ้าเห็นรถบรรทุกกำลังถ่ายน้ำมันเข้าสู่ถังเก็บใต้ดินจงอย่ารีบร้อนเติมน้ำมันช่วงเวลานั้น เพราะตอน ถ่ายน้ำมันลงของ สิ่งแปลกปลอม ซึ่งปกติตกตะกอนอยู่ใต้ถัง จะถูกปั่นจนลอยตัว หากเติมน้ำมันช่วงเวลานั้น อาจมีโอกาสดูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่รถเราได้ครับ
  5. ข้อมูลพวกนี้ผมก็ใช้ครูพักลักจำเอามา เลยไม่รู้จะให้เครดิตใครบ้างแต่ผมก็นำมาใช้ในชีวิตประจำวันครับ เผื่อเป็นประโยชน์บ้าง ส่วนเทคนิคอื่นรอท่านอื่นมาเสริมครับ


Saturday, June 16, 2012

Notebook Compaq presario มองไม่เห็น Hotspot บ้านเราซะงั้น

แต่ก่อนก็มองเห็นและเชื่อมต่อได้
แต่ทำไมตอนนี้ มองไม่เห็นหว่า เห็นแต่ hotspot อื่นๆ ซะงั้นงงเลย

Solved

  • Wireless router เราใช้ channel 13 มันเลยมองไม่เห็นซะงั้น
  • สแกนดู hotspot รอบๆ เค้าใช้ channel อะไร บ้าง
  • ก็ตั้ง channel เราใหม่ให้ห่างจาก channel อันอื่น อยู่สอง
  • เช่น true wifi เค้าใช้ channel 6 ของเราก็ควรจะตั้งเป็น 3 หรือ 9 ประมาณนี้
  • ถ้าเราตั้ง channel ใกล้กันอาจจะทำให้ สัญญาณ กลืนกัน ทำให้สัญญาณ ทับซ้อน ประมาณนั้น

Wifi scan for windows 7

เปลียน media convertor fiber to utp

แล้วเล่นเน็ตไม่ได้
เค้าบอกว่า media convertor ที่ซื้อ มันเป็น 10/100
อีกด้านที่มีอยู่แล้วเป็น 10/1000 ทำให้มัน เชื่อมต่อกัน แล้วสื่อสารกันบ่ได้ dhcp ไม่แจกไอพี
แก้ปัญหาโดยหา media convertor ที่ความเร็วเท่ากัน อีกด้าน เป็นอันแก้ปัญหาได้ ใช้ lan ได้รับไอพีปกติ

Thursday, June 14, 2012

ABS…มีแล้วใช้ให้เป็น ทำอย่างไรในช่วงเวลาฉุกเฉิน

http://www.bt-50.com/topic.php?q_id=29272

ศูนย์รับซ่อมกล่อง ECU

http://www.pantipmarket.com/items/10924738

28 เรื่อง การเข้าใจผิดของคนใช้รถ


http://www.bt-50proclub.com/board/index.php?topic=504.msg7446;topicseen#msg7446

ผิด 1. "สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง"
ที่ถูกคือ...อุ่นเครื่องยนต์สักหน่อยก่อนออกรถจะดีกว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง "เย็น" อยู่ เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า หรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปนกับฟิล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย


ผิด 2. "รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน"
ที่ถูกคือ...รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอิน และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งาน อย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 รตน. ได้ก็จะดี และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด พูดถึงเรื่องนี้ เคยมีผู้ใช้รถบางคน ไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค โดยให้เหตุผลว่า เสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้ อย่างนี้ "น่าเสียดาย" แทนจริงๆ เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์จะเรียกร้องเอากับใคร


ผิด 3. "ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดช่วยยืดอายุใบปัด"
ที่ถูกคือ...สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด


ผิด 4. "รถติดไฟแดงค้างเกียร์ D ไว้ดีกว่าเปลี่ยนเกียร์ว่าง"
ที่ถูกคือ...หยุดรถก็โอเค แต่ถ้าติดไฟแดงนานก็ต้องระวังชนคันหน้า ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่าง และเหยียบเบรคป้องกันรถไหล คงจะไม่มีใครเหยียบคลัทช์ และเบรค ใส่เกียร์คาไว้ ให้เมื่อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน  กลุ่มแรก เหยียบเบรคโดยค้างเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง "D" กลุ่มที่ 2 เบรคเหมือนกัน แต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง "N" กลุ่มสุดท้าย ดันคันเกียร์มาอยู่ที่ "P" ไม่เหยียบเบรค ถ้าติดไฟแดงนานๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุด เพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรค รถอาจพุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ 2 เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้าย สบายใจได้ แต่อาจจะไม่สะดวกกับการใช้งาน วิธีดีที่สุด คือ ใช้เกียร์ว่าง และดึงเบรคมือ


ผิด 5. "เดินทางไกลลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง"
ที่ถูกคือ...ลมน้อย ยางมีโอกาสระเบิดได้มาก คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่า ผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2- 3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล ลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับโครงสร้างยางได้ และมีโอกาสเกิด "ยางระเบิด" มากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่มีแรงดันลมยางเกินกำหนด เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี



ผิด 6. "ฝนตกใส่ขับ 4 ล้อเกาะกว่า...2 ล้อ"
ที่ถูกคือ...อย่าใช้ระบบขับเคลื่อนผิดประเภท จะได้ไม่ต้องเสียใจ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นอาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์หรือ "ตามต้องการ" ในรถพิคอัพ หรือพีพีวี ที่มีชุดส่งกำลังแยกเพื่อส่งกำลังไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมายังล้อหน้า อาการท้ายปัด หรือล้อหลังฟรีก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูง ล้อหน้าที่ถูกล็อคให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้น จึงมีรถประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกันเป็นประจำระบบขับ เคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดารได้ง่ายขึ้น ต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือ "ตลอดเวลา" ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะถนน


ผิด 7. "ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ"
ที่ถูกคือ...ทุกล้อมีความสำคัญ ตั้งศูนย์ล้อควรทำทั้ง 4 ล้อ เชื่อหรือไม่ว่า ศูนย์ล้อหลังมีความสำคัญพอๆ กับศูนย์ล้อหน้า หรืออาจจะมากกว่า เพราะมุมที่ล้อหลังเอียงไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลเมื่อเบรค หรือเลี้ยว และทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่คิด รถยนต์ส่วนใหญ่จะปรับตั้งศูนย์ล้อได้หน้า/หลัง ยกเว้นรถขับเคลื่อนหน้าบางรุ่นที่ปรับได้แต่เฉพาะล้อ หน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตั้งศูนย์ล้อหลัง ก็ต้องทำใจ


ผิด 8. "ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเวลาข้ามแยก"
ที่ถูกคือ...เวลาข้ามแยก รอให้รถว่าง และไม่ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน ถ้าคุณเปิดไฟฉุกเฉิน รถทั้งด้านซ้าย/ขวา ต่างก็จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่า นั้น รถทางขวาอาจจะจอดให้ไป แต่สำหรับทางซ้ายอาจคิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้ายจึงไม่หยุดให้ อุบัติเหตุ จึงเกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจผิด จากการใช้สัญญาณไฟแบบผิดที่...ผิดทาง


ผิด 9. "ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัดต้องเปิดไฟฉุกเฉิน"
ที่ถูกคือ...อาจสร้างความสับสนให้ผู้ร่วมทาง ไฟฉุกเฉินใช้เวลาจอดฉุกเฉิน ในสภาพอากาศที่ไม่ดี และมีทัศนวิสัยแย่มาก จนมองแทบไม่เห็นรถคันหน้า การชะลอความเร็ว เปิดไฟหน้า และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ทำให้ที่วิ่งสวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ามีรถจอดเสียอยู่ ทางซ้ายริมถนน และหักหลบไปทางขวา ซึ่งเป็นไหล่ทาง กว่าจะเห็นอาจจะสายเกินไป ไม่ลงไปข้างทางก็อาจพุ่งข้ามช่องทางมาชน หรือถ้าหยุดรถก็ขวางทาง และเกิดอุบัติเหตุ การใช้ สัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟผ่าหมาก ควรใช้เฉพาะเวลาที่รถเสีย และต้องจอดอยู่ริมถนน เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมทางที่สัญจรผ่านไปมา ใช้ความระมัดระวัง และชะลอความเร็วในจุดที่รถจอดเสียอยู่

ผิด 10. "ผ้าเบรคแข็ง หรือ ผ้าเบรคเนื้อแข็ง ไม่ดี"
ที่ถูกคือ...ไม่แน่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความเข้าใจผิดๆ เรื่อง "ผ้าเบรค" ที่ว่าผ้าเบรคอ่อนดีกว่าแข็ง เกิดจากบรรดาช่างซ่อมรถที่ไม่ได้อธิบายให้เจ้าของรถเข้าใจ การผสมเนื้อผ้าเบรคให้ใช้งานได้ดี เป็นศาสตร์ชั้นสูง ใช้วัสดุนานาชนิด และมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติของผ้าเบรค และมักจะขัดแย้งกันเอง ถ้าเน้นข้อดีข้อใดขึ้นมา ก็มักจะมีข้ออื่นด้อยลงไป เช่น การใช้ส่วนผสมที่เบรคหยุดดี ก็จะกินเนื้อจานเบรคมาก หรือร้อนจัด หรือไม่เนื้อผ้าเบรคก็สึกเร็ว พอทำให้สึกช้า ก็แข็ง เบรคไม่ค่อยอยู่ หรือมีเสียงรบกวน ส่วนผ้าเบรค "เนื้ออ่อน" ที่มีจุดเด่นเรื่องไม่กัดกินเนื้อจานเบรค ก็จะมีข้อด้อยตรงจุดอื่น


ผิด 11. "เอนนอนขับแบบนักแข่ง...สบายที่สุด"
ที่ถูกคือ...นั่งขับแบบไม่ต้องชะเง้อ จะได้ไม่เมื่อย และไม่อันตราย ท่าขับแบบนักแข่ง ตัวจริง ต่างกับการปรับเบาะเอนนอนขับมาก การนั่งท่านี้จะรู้สึกว่าจะหลุดจากเบาะนั่งทุกครั้งที่เบรคแรงๆ แขนที่เหยียดตึงตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เมื่อยล้า ยังต้องยกตัวขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลี้ยว เพราะไม่มีแรงหมุนพวงมาลัย และมองทางข้างหน้าไม่เห็น เช่นเดียวกับเวลาถอยหลังจอด สายเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าการนั่งขับแบบปกติ อาจจะรั้งคอแทนที่จะเป็นไหล เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ท่านั่งที่ถูกต้องเอาหลังพิงพนักจนสนิทแล้วเหยียดแขน ข้างใดข้างหนึ่ง ไปวางบนส่วนบนสุดของพวงมาลัยแล้ว ตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัทช์จนจม โดยไม่ต้องเหยียดข้อเท้าสุดแบบนักบัลเล่ท์ ส่วนใต้ของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้า จนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงตรงสะโพกพอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง


ผิด 12. "นั่งชิดพวงมาลัยเพื่อให้มองเห็นหน้ารถ"
ที่ถูกคือ...อันตราย ตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับรถนัก และได้รับการสอนท่านั่งมาแบบผิดๆ ลำตัวที่อยู่ชิดกับพวงมาลัย นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัดเพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวผู้ขับ ที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับพวงมาลัย และแรงระเบิดจากถุงลมนิรภัย


ผิด 13. "สอดมือหมุนพวงมาลัยถนัด เบาแรง และปลอดภัย"
ที่ถูกคือ...ไม่ถนัดจริง และอันตรายไม่ควรทำ การหงายมือล้วงหรือสอดมือจับพวงมาลัย เพื่อเลี้ยวรถ เป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือหมุน แต่การทำแบบนั้นมี "อันตราย" มาก ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหิน และเกิดมือหลุดจากพวงมาลัย ดึงมือออกมาไม่ทันก้านพวงมาลัยจะตีมืออย่างแรง การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องควรจับในตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย และเพียงพอที่หมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ เมื่อต้องเลี้ยวรถมากกว่าหนึ่งรอบ จะปล่อยมือที่อยู่ด้านหลัง เพื่อมาจับในตำแหน่งเดิม โดยทำในลักษณะนี้ทั้งเลี้ยวซ้าย/ขวา


ผิด 14. "เกียร์ ซีวีที ขับยากและกินน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป"
ที่ถูกคือ...ขับง่ายและประหยัดน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป การไม่สามารถเข้าใจเหตุผล ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ ผู้ที่ขับรถใช้เกียร์ ซีวีที บอกว่าขับแล้วรู้สึกเหมือนขับรถที่เกียร์ หรือระบบขับเคลื่อน "มีปัญหา" ให้ความรู้สึกที่ไม่ดี โดยเฉพาะตอนที่ขับด้วยความเร็วคงที่แล้วกดคันเร่งเพิ่ม เกียร์จะเลือกอัตราทดที่เหมาะ ทำให้ความเร็วเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นทันที แต่ความเร็วรถยังเท่าเดิม ให้ความรู้สึกเหมือนรถคลัทช์ลื่น การขับแบบประหยัดเชื้อเพลิง ให้เหยียบคันเร่งไม่ลึกนักขณะออกรถและรักษาระยะที่เหยียบไว้ ช่วงแรกเครื่องยนต์จะส่งกำลังผ่านทอร์คคอนเวอร์เตอร์ พอล้อรถหมุนเร็วพอสมควร และไม่ต้องการความช่วยเหลือจากทอร์คคอนเวอร์เตอร์แล้ว ระบบต่อตรงส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังจานทรงกรวยตัว ขับก็จะทำงาน จากนั้นระบบควบคุมจะลดระยะห่างของจานทรงกรวยคู่ที่เป็นตัวขับ เป็นการลดอัตราทด เพื่อเพิ่มความเร็วรถ โดยที่ความเร็วของเครื่องยนต์ค่อนข้างคงที่ ยกตัวอย่างเช่น ประมาณ 1,800 รตน. ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเดียวกับที่อัตราทดของ เกียร์ลดลง จนได้ความเร็วประมาณ 60-70 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดของการเหยียบคันเร่งของเราเท่านี้ เยี่ยมไหมครับ ?

ผิด 15. "ต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง"
ที่ถูกคือ...ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้ง แต่ถ้าเปลี่ยนได้ก็ดี ผู้ผลิตรถยนต์จากยุโรป แนะนำให้เปลี่ยนพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทุกครั้ง แต่โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อย แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรอง หรือหม้อกรองทุกๆ ครั้งที่ 2 ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถ้าคำนึงถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่องยุคปัจจุบันแล้ว น้ำมันเครื่องหมดอายุแล้ว ในหม้อกรองน้ำมันเครื่องจำนวนหนึ่งปนเปื้อน ไม่ถึงกับให้โทษในด้านการหล่อลื่นหรือทำความสะอาดภาย ในเครื่องยนต์ แต่เมื่อคำนึงถึงราคาหม้อกรอง หรือไส้กรอง ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมันเครื่องแล้ว ควรเปลี่ยนทุกครั้งเพื่อให้น้ำมันเครื่องสะอาดที่สุด และทำหน้าที่รักษาเครื่องยนต์ของเราจะดีกว่า


ผิด 16. "ควรเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพื่อถนอมเครื่องยนต์"
ที่ถูกคือ...อาจจะหนืดไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว เราแบ่งหัวเชื้อน้ำมันเครื่องได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำมันเครื่อง และประเภทที่ช่วยเพิ่มความหนืดของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงในปัจจุบันมีส่วนผสมของสารต่างๆ อยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม จึงไม่ควรใส่สารอื่นเข้าไปทำลายสัดส่วนสารเคมีเหล่านี้ให้เสียสมดุล และกลับให้โทษแก่เครื่องยนต์ ประเภทแรกจึงไม่จำเป็น ส่วนหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเพิ่มความหนืด อาจช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ ที่หมดสภาพแล้วได้บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงราคาแล้ว ก็ไม่น่าจะช่วยประหยัดได้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย วิธีที่ถูกต้องคือ การซ่อมใหญ่ หรือ โอเวอร์ฮอล เพื่อให้เครื่องยนต์กลับคืนสู่สภาพดีปกติ


ผิด 17. "เติมน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงปนกับน้ำมันเครื่องทั่วไป จะได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น"
ที่ถูกคือ...การผสมไม่ได้ช่วยให้คุณภาพดีขึ้น ใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพมาตรฐานจะดีกว่า การนำน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุดสักครึ่งลิตร มาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพปานกลาง ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้ เอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่า เช่นเดียวกับการเอาน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปน้ำมันเครื่องชั้นดี ราคาสูง ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่อง เสียสมดุลไป เท่ากับน้ำมันเครื่องทั้งหมดคุณภาพต่ำไป การเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้ จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่าย นั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งาน เพียงระยะสั้น ทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า


ผิด 18. "ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ทุกๆ 5,000 กม."
ที่ถูกคือ...ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำมันเครื่องและความต้องการของเครื่องยนต์ ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เครื่องยนต์แต่ละรุ่นต้องการใช้ อยู่ในคู่มือประจำรถ และกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไว้แตกต่างกันด้วย รถยนต์ของค่ายญี่ปุ่น จะมีกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นระยะทางที่สั้นกว่ารถยุโรป เช่น ทุกๆ 5,000 กม. และ 10,000 กม. ส่วนรถค่ายยุโรปส่วนใหญ่ที่เครื่องยนต์ใหญ่ใช้รอบเครี่องยนต์ต่ำ และมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องไว้สูง เช่น ระดับ SJ สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะกำหนดระยะทางถึง 15,000 กม. หรือมากกว่านั้น ปัจจุบันกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่มีระยะมากที่สุด เป็นของรถ เปอโฌต์ คือ ทุกๆ 30,000 กม. แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนก่อนเวลาก็ไม่ได้ทำให้เสียหาย เพียงแต่เปลืองเงินกว่าที่ควร เท่านั้นเอง ผู้ใช้รถควรใช้วิจารณญาณในการร่นระยะเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามสภาพการใช้งาน เช่น กรณีที่ใช้งานในสภาพการจราจรติดขัดเป็นส่วนใหญ่ เหลือ 70 % ที่กำหนดในคู่มือ หรือถ้าต้องสตาร์ทเครื่องยนต์บ่อยๆ และ "รถติด" เป็นประจำด้วย เหลือเพียง 50 % ถ้าใช้น้ำมันเครื่อง "ธรรมดา" คุณภาพสูง แล้วใช้งานหนักมาก เปลี่ยนทุก 5,000 กม. ถ้าใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % เปลี่ยนทุก 10,000 กม. หากใช้งานเบากว่านี้ เพิ่มระยะทางได้ตามความเหมาะสม ไม่ใช่กำหนดที่ปั๊มน้ำมัน หรือศูนย์บริการฯ ลดทอน เพราะต้องการขายน้ำมันเครื่อง


ผิด 19. "เครื่องยนต์ดีเซลมีระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเท่ากับเบนซิน"
ที่ถูกคือ...อุณหภูมิภายในไม่เท่ากัน อายุการใช้งานก็ต่างกันด้วย การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ก่อให้เกิดเขม่ามากกว่าในเครื่องยนต์เบนซิน ผงเขม่าขนาดเล็กสามารถลอดผ่านกระดาษกรองของหม้อกรองน้ำมันเครื่องได้ เมื่อสะสมแขวนลอยอยู่ในน้ำมันเครื่องมากขึ้น จะทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูงขึ้น คุณสมบัติในการหล่อลื่นจึงลดลง เครื่องยนต์ดีเซลระบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ หรือไดเรคท์อินเจคชันยุคใหม่มีเขม่าน้อยกว่าแบบ พรีแชมเบอร์มาก เราจึงสังเกตได้ว่า กำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แบบนี้ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์ เบนซินแล้ว


ผิด 20. "น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา"
ที่ถูกคือ...ราคาแพงกว่าใช้ได้นานกว่า แต่จะคุ้มหรือไม่อยู่ที่ใจ จุดเด่นแรกของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์อยู่ที่ค่าความ หนืดต่ำที่อุณหภูมิต่ำ จึงไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ในสภาพเย็นจัด เช่น ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ซึ่งสภาวะเช่นนี้ไม่มีในประเทศไทย ข้อดีประการที่ 2 คือทนต่อความร้อนสูงที่ผนังกระบอกสูบได้ดีกว่า จึงมีอัตราการระเหยเป็นไอได้น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง "ธรรมดา" อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องอาจน้อยกว่าเล็กน้อย จุดเด่นอีกข้อของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ คือ การมีค่าดัชนีความหนืดสูง จึงไม่ "ใส" เกินไปเมื่อถูกความร้อนจัด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีสารปรับดัชนีความหนืดผสมอยู่ในอัตราที่น้อย กว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา เนื่องจากสารปรับดัชนีความหนืดนี้เสื่อมสภาพได้ง่ายตามอายุใช้งาน น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีอายุใช้งานยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดามาก เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % กับราคาน้ำมันเครื่อง "ธรรมดา" ระดับคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคาสูงกว่าราว 2 ถึง 4 เท่า จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า "คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา" ยกเว้นพวกชอบใช้ของแพง ได้จ่ายเงินมากแล้วมีความสุข ผู้ที่ต้องการถนอมให้เครื่องยนต์สึกหรอน้อยที่สุด โดยไม่คำนึงถึงราคาว่าคุ้มหรือไม่


ผิด 21. "ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกแต่เปลี่ยนบ่อยๆ ช่วยถนอมเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด"
ที่ถูกคือ...ถ้าเจอน้ำมันเครื่องปลอม หรือไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย ไม่ควรนำน้ำมันเครื่องราคาถูกมาเปลี่ยนบ่อยๆ เช่น ทุก 3,000 หรือ 4,000 กม. แทนน้ำมันเครื่องมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เพราะในประเทศเราที่ไม่มีหน่วยงานควบคุม และตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันเครื่องอยู่เลย แม้น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพสูงที่เราซื้อมา ก็อาจเป็นของปลอมที่กรองและฟอกสีมาจากกากน้ำมันเครื่องใช้แล้วได้ วิธีถนอมเครื่องยนต์ที่ดีที่สุด คือ เลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุด ก่อนอื่นต้องเลือก "ยี่ห้อ" และสถานที่จำหน่ายที่น่าไว้วางใจได้ เลือกระดับคุณภาพ แล้วจึงดูระดับความหนืด หรือความข้นของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองไทย เช่น 10W-40/15W-40/15W-50 หรือ 20W-50 ระดับคุณภาพที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย คือ ระดับคุณภาพตามมาตรฐานของ API (AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE) ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ควรใช้น้ำมันเครื่อง ระดับคุณภาพ SJ หรือ อย่างน้อย SH ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือกระดับ CG - 4 หรืออย่างน้อย CF - 4


ผิด 22. "เปลี่ยนแบตเตอร์รี่ให้ลูกใหญ่ จะได้สตาร์ทง่าย"
ที่ถูกคือ...แบตเตอร์รี่ขนาดไหนก็ใช้ไฟเท่าเดิม ใหญ่ไปก็หนักรถ การใช้แบตเตอร์รี่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ ทั้งเครื่องยนต์ ไดสตาร์ท และไดชาร์จ ยังมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะความต้องการไฟในการสตาร์ทเครื่องยนต์ยังเท่าเดิมแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับไดชาร์จในอนาคต แบตเตอร์รี่ที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป ไม่เพียงต้องทำให้เจ้าของรถต้องดัดแปลงแทนวางแบตเตอร์รี่ใหม่เท่านั้น ยังอาจส่งผลให้ไดชาร์จทำงานเต็มกำลังตลอดเวลา เพื่อบรรจุไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอร์รี่ ซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อไฟเต็ม


ผิด 23. "ดับเครื่องยนต์ก่อน และปิดพัดลมแอร์ จะช่วยให้แอร์ไม่เสียเร็ว"
ที่ถูกคือ...ควรปิดคอมเพรสเซอร์แอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยยืดอายุตู้แอร์ ระบบทำความเย็นทั้งภายในรถและอาคาร อาศัยหลักการถ่ายเทความเย็น และระบายความร้อน ซึ่งตู้แอร์ หรือคอยล์เย็น จะมีสารทำความเย็นบรรจุอยู่ภายใน โดยมีพัดลมทำหน้าที่เป่าลม การปิดพัดลมหลังดับเครื่อง ความเย็นยังคงอยู่ภายในระบบ ตู้แอร์จึงชื้น และกลายเป็นที่สะสมฝุ่นละออง ซึ่งจะทำให้ลมผ่านได้ไม่สะดวก เกิดการอุดตัน และตู้รั่ว การปิดคอมเพรสเซอร์ หรือปิดสวิทช์ AC ก่อนดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 5 -10 นาที จะช่วยไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไม่เป็นที่สะสมฝุ่น นอกจากจะช่วยยืดอายุตู้แอร์ ยังช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่มักเกิดพร้อมๆ กับความชื้นอีกด้วย


ผิด 24. "แก๊สโซฮอลสิ้นเปลืองกว่าเบนซิน 95 เพราะแอลกอฮอล์ระเหยได้ง่ายกว่า"
ที่ถูกคือ...แอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงาน ต่ำกว่าของเบนซิน การที่แก๊สโซฮอลสิ้นเปลืองกว่าเพราะแอลกอฮอล์มีพลังงานสะสมในตัวมันน้อยกว่า เมื่อเทียบมวลเท่ากัน เช่น มีพลังงานกี่กิโลแคลอรีต่อมวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากัน หรือกล่าวได้ว่าแอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงาน หรือ ค่าความร้อน (HEATING VALUE) ต่ำกว่าของเบนซิน เกี่ยวกับการระเหยง่ายอย่างที่หลายคนคิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ น้ำมันเบนซินซึ่งระเหยง่ายมาก และน้ำมันดีเซลซึ่งระเหยยากมาก แต่มีความหนาแน่นของพลังงานหรือค่าความร้อนพอๆ กัน และมากกว่าของแอลกอฮอล์ประมาณเท่าตัว


ผิด 25. "เติมน้ำยาหล่อเย็นจะทำให้หม้อน้ำรั่ว"
ที่ถูกคือ...น้ำยาเติมหม้อน้ำช่วยลดตะกอนและควบคุมอุณหภูมิของน้ำ น้ำยาเติมหม้อ หรือน้ำยาหล่อเย็น (COOLANT) ถูกมองว่าเป็นตัวการทำให้หม้อน้ำและปั๊มน้ำรั่วอยู่เสมอ นั่นก็เพราะผู้ใช้รถจะพบปัญหาเหล่านี้หลังจากที่ได้เ ติมน้ำยาหล่อเย็น ซึ่งในความเป็นจริงเกิดจากระบบหล่อเย็นของรถขาดการบำรุงรักษามาเป็นเวลานาน หรือใช้น้ำที่มีค่าเป็นกรดเป็นด่างมากเกินไป จนเกิดการผุกร่อน ดังนั้นเราควรบำรุงรักษาหม้อน้ำด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาในระบบหล่อเย็นปีละครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดถังพักน้ำด้วย ส่วนการผสมน้ำยาหล่อเย็น ควรทำตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตระบุไว้

ผิด 26. "รถที่ใช้จานเบรค 4 ล้อปลอดภัยกว่ารถที่ใช้ดุมเบรคหลัง"
ที่ถูกคือ...ไม่แน่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าจานเบรคใช้ได้ดีกับรถทุกรุ่นทุกขนาด แม้ว่าคุณสมบัติที่ดีของจานเบรคคือ ระบายความร้อนได้เร็ว ส่วนใหญ่ผู้ผลิตรถจึงใช้กับล้อหน้าที่ผ้าเบรคจับตัวจานเบรคแทบจะตลอดเวลา ดุมเบรคที่ระบายความร้อนได้ช้ากว่าเพราะมีฝาครอบ แต่มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจานเบรคและไม่มีปัญหาเบรคล๊อคเหมือนจานเบรคใช้ใน ล้อหลัง รถที่ใช้งานแบบทั่วไป รวมทั้งรถที่มีระบบเอบีเอส ซึ่งวิศวกรผู้ผลิตรถยนต์จะเลือกใช้จานเบรคตามความเหมาะสม การที่เจ้าของรถนำรถไปดัดแปลงใช้จานเบรคในล้อหลัง ต้องระวัง เพราะหากล้อหลังหยุดก่อนล้อหน้าเมื่อเบรค อาจทำให้รถหมุนได้


ผิด 27. "เปลี่ยนกรองเปลือย และหัวเทียน ทำให้รถแรงขึ้น"
ที่ถูกคือ...ช่วยอะไรไม่ได้มาก ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป การเปลี่ยนกรองอากาศมาเป็นแบบกรองเปลือย ที่ไม่มีกล่องป้องกันฝุ่น และท่อนำอากาศ อาจจะช่วยให้อากาศเข้าได้สะดวกขึ้น แต่ความหนาแน่นของมวลอากาศน้อยลงเพราะอุณหภูมิความร้อนภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งปริมาณอากาศกับห้องเผาไหม้เท่าเดิม จึงให้กำลังตกลงเมื่อเครื่องร้อน อีกทั้งมีฝุ่นละอองมาก ทำให้ต้องล้างหรือทำความสะอาดบ่อยๆ การใช้หัวเทียนใหม่ช่วยให้การจุดระเบิดสมบูรณ์ แต่ไม่ได้เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้สูงกว่ามาตรฐานผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนดไว้


ผิด 28. "ไส้กรองอากาศไม่ต้องเปลี่ยน แค่เป่าลมก็ใช้ได้แล้ว"
ที่ถูกคือ...เปลี่ยนใหม่ จะช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันไปได้นับพันบาท การใช้ลมเป่าไส้กรองอากาศที่นิยมทำกัน เมื่อมีฝุ่นติดเต็ม จนมองไม่เห็นสีเดิม วิธีนี้ช่วยให้ฝุ่นละอองเบาบางลง อากาศไหลผ่านได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเป่าแรงเกินไปแผ่นกรองอาจเสียหายจนใช้งานต่อไม่ได้ เพราะมีรูกว้างจนฝุ่นขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้ คิดแล้วไม่คุ้ม ยอมจ่ายเงินซื้อของใหม่มาใส่จะคุ้มกว่า การล้างคาร์บูเรเตอร์ หรือหัวฉีด แถมยังประหยัดค่าน้ำมันทางอ้อม อีกด้วย
 
   เครดิตโดย Paiboon80
...www.3dmaniaclub.com

ยื่นเรื่องรถคันแรก

อกสารที่ต้องนำไปยื่น
1. สำเนาบัตรประชาชน 
2. สำเนาทะเบียนบ้าน  
3. สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ) 
4. สำเนาคู่มือการจดทะเบียน  
5. หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนรถยนต์คันแรก
6. หลักฐานการซื้อขายรถยนต์ (กรณีซื้อเงินสดใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินหรือสำเนาซื้อขายและ
    สำเนาเอกสารการับมอบรถยนต์ กรณีเช่าซ์้อใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินและสำเนาเอกสารการับมอบรถยนต์)
7. สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ขอใช้สิทธิ์ฯ

ต้อมยื่นที่กระทรวงวัฒนธรรม แถวปิ่นเกล้า (ตามทะเบียนบ้าน)
ใช้เวลาแค่ 10 นาที เมื่อยื่นเอกสารแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารว่าได้รับเอกสารอะไรจากเราบ้าง 
และจะส่งข่าวเป็นจดหมายให้เราทราบผลภายหลัง ว่าเราได้รับสิทธิ์หรือไม่ ได้คืนเท่าไหร่ค่ะ

กรณีฝากให้คนอื่นไปยื่นเอกสารแทนต้องมีใบมอบอำนาจและติดอากรแสตมป์ไปด้วยนะคะ


http://www.bt-50proclub.com/board/index.php?topic=465.msg6979;topicseen#msg6979

ขับเลนขวาผิดหรือไม่


http://www.newrangerclub.com/thread-9558-1-1.html

Popular Posts