Friday, April 25, 2014

Setting Unifi AP และ Software Unifi Controller ตอนที่ 1 (ติดตั้ง Software Management)

อ้างอิง - http://www.sysnetcenter.com/board/index.php?topic=2028.0 <== อ่านเข้าใจง่าย
  • ประเด็นมีอยู่ว่า เพื่อนที่ทำงานแนะนำ AP แบบ ใช้สำหรับองค์กร ยี่ห้อ Unifi 
  • ที่เค้าแนะนำเพราะว่า มันมี solution หลายๆ อย่างคล้าย Aruba หรือ Cisco คือ มีตัว controller ในการจัดการหรือควบคุมนั่นเอง
  • ทำ Roaming AP ได้ด้วยนะ คือประมาณว่า มี AP หลายตัวและตั้งชื่อ AP ให้เหมือนกันทุกตัว เมื่อมี client มาเกาะ แล้วเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่งในบริเวณที่มี AP เหล่านั้นอยู่ client จะเปลี่ยนไปเกาะตัวที่ client อยู่ใกล้ที่สุดโดยอัตโนมัติ โดยที่การเชื่อมกับเครือข่ายนั้นจะไม่เป็นการหลุดเลย
  • อีกทั้ง ราคาเบาๆ ไม่แรงเหมือน 2 มหาอำนาจด้าน อุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย
  • ใช้โอเคนะ ว่าจะซื้อไปใช้ที่บ้านดูทำ บัตรเล่นเน็ต รายนาที
  • โพสนี้จะเขียนเกี่ยวกับ การติดตั้ง และ ตั้งค่าตัว software controller ของเค้า
  • คือ ตอนทำนั้นไม่ได้ capture ไว้เขียน log และ เราได้ทำการแขวน AP ไว้บน ผนังแล้ว ขี้เกียจ เอามันลงมารีเซตเครื่องใหม่ เพื่อแค่จะเขียน log นะ
  • ฉะนั้นภาพประกอบและวิธีการตั้งค่าหลายๆ ภาพผู้เขียนได้นำมาจาก อ้างอิงจาก http://www.sysnetcenter.com/board/index.php?topic=2028.0 ซึ่งเค้าทำ mark ไว้แล้ว
  • อ้างอิง เค้าทำบน software version 3.1 ซึ่งยังเป็น beta อยู่ แต่ตัวผู้เขียนเองนั้นใช้ version 2.4 ซึ่งเป็นตัว stable ที่ใหม่ที่สุดแล้ว ณ ขณะนี้ แต่โดยรวม UI มันคล้ายๆ กันเกือบหมดนั่นแหละ
ขั้นตอนการติดตั้งและใช้งาน
  • ติดตั้งตัวอุปกรณ์ AP กับ Network ดังภาพ
  • เมื่อ Hardware พร้อม เรามาลุยฝั่ง Software กัน
  • ก่อนอื่นเลยตัว software controller นี้เค้าเขียนเป็น web application แบบ applet นะ คือใช้ Java Runtime ในการรันโปรแกรม ฉะนั้นเราต้องติดตั้ง Java Runtime ก่อนครับพี่น้อง แต่เท่าที่เห็นจากอ้างอิง ตอนติดตั้ง software controller มันจะติดตั้ง Java Runtime ให้เราอัตโนมัติเลยแฮะ
  • โอเคในกรณี มันไม่ลง Java Runtime ให้เราอัตโนมัติ ก็ไปโหลดเองได้ที่นี่เลย (โหลดเสร็จติดตั้งด้วยนะ) 
  • ที่นี้ไปดาวน์โหลด UniFi Controller ต่อเลย คลิกที่นี่
  • โดยในที่นี้ผู้เขียนเลือกเป็น UniFi-installer.exe นะ
  • โหลดมาและทำการติดตั้งให้เรียบร้อย
  • ติดตั้งให้เรียบร้อยจ้า จากนั้นกด Finish มันจะรัน UniFi Controller ให้เราเอง
  • คลิกที่ Launch a Browser .... เพื่อเปิดเค้าใช้งาน Controller ผ่านหน้าเว็บไซต์
  • ในที่นี้ผู้เขียนใช้ Google Chrome เป็น default สำหรับเปิด internet ให้เราคลิกที่ประมาณ Continue หรือ ดำเนินการต่อ จะได้ดังภาพด้านล่างนี้
  • เป็นการเลือก ภาษา และ เลือกประเทศ เราใช้เป็น English และ United States เลยไม่ต้องเปลี่ยน
  • คลิกที่ Next เพื่อไปต่อ
  • ถ้าเราได้ทำการติดตั้งตัวอุปกรณ์เข้ากับเครือข่ายเดียวกับ กับคอมพิวเตอร์ที่เรากำลังติดตั้ง software controller อยู่แล้ว เราจะพบอุปกรณ์นั้นเลย
  • เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการตั้งค่า และคลิก Next
  • จากนั้นระบุ SSID Name และ Security Key กัน ส่วน Guest SSID จะใส่หรือไม่ใส่ก็แล้วแต่เรา ถ้าใส่ก็ติ๊กเครื่องหมายถูก และระบุชื่อ Guest SSID ให้เรียบร้อย จากนั้น คลิก Next
  •  ใส่ Admin Name พร้อม Password ให้เรียบร้อย สำหรับใช้เข้า Login เพื่อควบคุมตัวอุปกรณ์ คลิก Next
  • เรียบร้อยแล้วครับ จำ Admin Name และ Password ให้ดีนะ คลิกที่ Finish ได้เลย
  • ใส่ User และ Password ที่เรากำหนดไว้ก่อนหน้านี้ แล้วคลิก Login
  • เมื่อเข้าสู่ระบบ ตัว software controller จะ detect อุปกรณ์โดยอัตโนมัติ เลย 
  • อ้างอิงบอกเพิ่มเติมว่า ถ้า detect ไม่พบให้ กดปุ่ม Reset ค้างไว้ประมาณ 20 วินาที แล้ว ถอดปลั๊กไฟ ของตัวอุปกรณ์ออก แล้วกด Refresh ที่ Browser 1 ครั้ง ประมาณนี้
  • สถานะ AP ตอนนี้จะเป็น pending ให้เราคลิกปุ่ม Adopt เพื่อจะผูก AP กับ Controller เครื่องที่ลง Sotfware นี่แหละ 
  • ที่ Status จะเปลี่ยนเป็น Adopting 
  • เมื่อเรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไร Status จะเปลี่ยนเป็น Connected แล้วครับพี่น้อง

4 comments:

  1. ขอสอบถามหน่อยครับว่า หลังจากอัพเดทโปรแกรมของ Unifi เป็น V.4.6.6 มันไม่สามารถเข้า Browser ได้ครับ ไม่ทราบว่ามีวิธีแก้ไหมครับ

    ReplyDelete
  2. เช็ค JRE ดูก่อนนะครับ

    ReplyDelete
  3. ใครติดตั้ง Unifi ap lr ได้ช่วยบอกผมหน่อย

    ReplyDelete
  4. ผมติดตั้งได้นะครับ ไม่ยาก แต่ยากตรงset config ip กับเครื่องนี่ซิ

    ReplyDelete

Popular Posts