Friday, April 25, 2014

Setting Unifi AP และ Software Unifi Controller ตอนที่ 1 (ติดตั้ง Software Management)

อ้างอิง - http://www.sysnetcenter.com/board/index.php?topic=2028.0 <== อ่านเข้าใจง่าย
  • ประเด็นมีอยู่ว่า เพื่อนที่ทำงานแนะนำ AP แบบ ใช้สำหรับองค์กร ยี่ห้อ Unifi 
  • ที่เค้าแนะนำเพราะว่า มันมี solution หลายๆ อย่างคล้าย Aruba หรือ Cisco คือ มีตัว controller ในการจัดการหรือควบคุมนั่นเอง
  • ทำ Roaming AP ได้ด้วยนะ คือประมาณว่า มี AP หลายตัวและตั้งชื่อ AP ให้เหมือนกันทุกตัว เมื่อมี client มาเกาะ แล้วเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่งในบริเวณที่มี AP เหล่านั้นอยู่ client จะเปลี่ยนไปเกาะตัวที่ client อยู่ใกล้ที่สุดโดยอัตโนมัติ โดยที่การเชื่อมกับเครือข่ายนั้นจะไม่เป็นการหลุดเลย
  • อีกทั้ง ราคาเบาๆ ไม่แรงเหมือน 2 มหาอำนาจด้าน อุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย
  • ใช้โอเคนะ ว่าจะซื้อไปใช้ที่บ้านดูทำ บัตรเล่นเน็ต รายนาที
  • โพสนี้จะเขียนเกี่ยวกับ การติดตั้ง และ ตั้งค่าตัว software controller ของเค้า
  • คือ ตอนทำนั้นไม่ได้ capture ไว้เขียน log และ เราได้ทำการแขวน AP ไว้บน ผนังแล้ว ขี้เกียจ เอามันลงมารีเซตเครื่องใหม่ เพื่อแค่จะเขียน log นะ
  • ฉะนั้นภาพประกอบและวิธีการตั้งค่าหลายๆ ภาพผู้เขียนได้นำมาจาก อ้างอิงจาก http://www.sysnetcenter.com/board/index.php?topic=2028.0 ซึ่งเค้าทำ mark ไว้แล้ว
  • อ้างอิง เค้าทำบน software version 3.1 ซึ่งยังเป็น beta อยู่ แต่ตัวผู้เขียนเองนั้นใช้ version 2.4 ซึ่งเป็นตัว stable ที่ใหม่ที่สุดแล้ว ณ ขณะนี้ แต่โดยรวม UI มันคล้ายๆ กันเกือบหมดนั่นแหละ
ขั้นตอนการติดตั้งและใช้งาน
  • ติดตั้งตัวอุปกรณ์ AP กับ Network ดังภาพ
  • เมื่อ Hardware พร้อม เรามาลุยฝั่ง Software กัน
  • ก่อนอื่นเลยตัว software controller นี้เค้าเขียนเป็น web application แบบ applet นะ คือใช้ Java Runtime ในการรันโปรแกรม ฉะนั้นเราต้องติดตั้ง Java Runtime ก่อนครับพี่น้อง แต่เท่าที่เห็นจากอ้างอิง ตอนติดตั้ง software controller มันจะติดตั้ง Java Runtime ให้เราอัตโนมัติเลยแฮะ
  • โอเคในกรณี มันไม่ลง Java Runtime ให้เราอัตโนมัติ ก็ไปโหลดเองได้ที่นี่เลย (โหลดเสร็จติดตั้งด้วยนะ) 
  • ที่นี้ไปดาวน์โหลด UniFi Controller ต่อเลย คลิกที่นี่
  • โดยในที่นี้ผู้เขียนเลือกเป็น UniFi-installer.exe นะ
  • โหลดมาและทำการติดตั้งให้เรียบร้อย
  • ติดตั้งให้เรียบร้อยจ้า จากนั้นกด Finish มันจะรัน UniFi Controller ให้เราเอง
  • คลิกที่ Launch a Browser .... เพื่อเปิดเค้าใช้งาน Controller ผ่านหน้าเว็บไซต์
  • ในที่นี้ผู้เขียนใช้ Google Chrome เป็น default สำหรับเปิด internet ให้เราคลิกที่ประมาณ Continue หรือ ดำเนินการต่อ จะได้ดังภาพด้านล่างนี้
  • เป็นการเลือก ภาษา และ เลือกประเทศ เราใช้เป็น English และ United States เลยไม่ต้องเปลี่ยน
  • คลิกที่ Next เพื่อไปต่อ
  • ถ้าเราได้ทำการติดตั้งตัวอุปกรณ์เข้ากับเครือข่ายเดียวกับ กับคอมพิวเตอร์ที่เรากำลังติดตั้ง software controller อยู่แล้ว เราจะพบอุปกรณ์นั้นเลย
  • เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการตั้งค่า และคลิก Next
  • จากนั้นระบุ SSID Name และ Security Key กัน ส่วน Guest SSID จะใส่หรือไม่ใส่ก็แล้วแต่เรา ถ้าใส่ก็ติ๊กเครื่องหมายถูก และระบุชื่อ Guest SSID ให้เรียบร้อย จากนั้น คลิก Next
  •  ใส่ Admin Name พร้อม Password ให้เรียบร้อย สำหรับใช้เข้า Login เพื่อควบคุมตัวอุปกรณ์ คลิก Next
  • เรียบร้อยแล้วครับ จำ Admin Name และ Password ให้ดีนะ คลิกที่ Finish ได้เลย
  • ใส่ User และ Password ที่เรากำหนดไว้ก่อนหน้านี้ แล้วคลิก Login
  • เมื่อเข้าสู่ระบบ ตัว software controller จะ detect อุปกรณ์โดยอัตโนมัติ เลย 
  • อ้างอิงบอกเพิ่มเติมว่า ถ้า detect ไม่พบให้ กดปุ่ม Reset ค้างไว้ประมาณ 20 วินาที แล้ว ถอดปลั๊กไฟ ของตัวอุปกรณ์ออก แล้วกด Refresh ที่ Browser 1 ครั้ง ประมาณนี้
  • สถานะ AP ตอนนี้จะเป็น pending ให้เราคลิกปุ่ม Adopt เพื่อจะผูก AP กับ Controller เครื่องที่ลง Sotfware นี่แหละ 
  • ที่ Status จะเปลี่ยนเป็น Adopting 
  • เมื่อเรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไร Status จะเปลี่ยนเป็น Connected แล้วครับพี่น้อง

4 comments:

  1. ขอสอบถามหน่อยครับว่า หลังจากอัพเดทโปรแกรมของ Unifi เป็น V.4.6.6 มันไม่สามารถเข้า Browser ได้ครับ ไม่ทราบว่ามีวิธีแก้ไหมครับ

    ReplyDelete
  2. เช็ค JRE ดูก่อนนะครับ

    ReplyDelete
  3. ใครติดตั้ง Unifi ap lr ได้ช่วยบอกผมหน่อย

    ReplyDelete
  4. ผมติดตั้งได้นะครับ ไม่ยาก แต่ยากตรงset config ip กับเครื่องนี่ซิ

    ReplyDelete