Monday, July 13, 2009

ประวัติผู้ก่อตั้ง Ubuntu Linux

เนื้อหาต่อไปนี้คัดลอกมาจาก http://cyborg9.exteen.com/20071129/entry คับ

คนแบบนี้ก็มี

เมื่อ พูดถึง Ubuntu เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ นักธุรกิจหนุ่มจากแอฟริกาใต้ ผู้ริเริ่มโครงการ ขึ้นมาในปี 2547 โดยจัดตั้งเป็นมูลนิธิอูบุนตูในปีถัดมาภายใต้การสนับสนุนเงินทุนเบื้องต้น 10 ล้านเหรียญจากบริษัท Canonical ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนผลักดันโครงการฟรี ซอฟต์แวร์ และ โอเพ่น ซอร์ส ซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะ

ขายบริการสนับสนุนแบบครบวงจรให้กับผู้ใช้โอเพ่น ซอร์ส ซอฟต์แวร์ โดยมีอูบุนตูเป็นแกนกลาง โดยรูปแบบมันไปสอาจจะคล้ายกับ เรดแฮท เพียงแต่แนวคิดและปรัชญาของ มาร์คชัตเติ้ลเวิร์ธ นั้นยึดหลักโอเพ่นซอร์ส อย่างเหนียวแน่น และออกแรงผลักดันอย่างแข็งขัน ด้วยความเชื่อว่า ซอฟต์แวร์ควรจะเป็นฟรีที่ทุกคนเข้าถึงได้ ใช้งานได้จริง ยืดหยุ่นปรับแต่งได้ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน

และ แบ่งปันสิ่งที่ต่อยอดมาได้ให้กับผู้อื่น

ไม่ใช่เก็บเกี่ยวสิ่งที่ชุมชนโอเพ่น ซอร์สช่วยกันละไม้คละมือพัฒนาไปทำมาหากินลูกเดียว

Ubutu เป็นคำท้องถิ่นแถบ ซับ-ซาฮาร่า ที่หมายถึงการร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อผู้อื่น humanity for others




ปัจจุบัน มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ มีชื่อเสียงเคียงคู่กับอูบุนตู ทว่าชื่อเสียงของเขามีมาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี 2545 ที่เขาเข้าร่วมเดินทางไปในอวกาศกับยานโซยุซ ของรัสเซีย ด้วยค่าใช้จ่าย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะความหลงใหลในการบินอวกาศมาตั้งแต่เด็ก

แต่ย้อน ก่อนหน้านี้ขึ้นไปอีก ในปี 2538ช่วงปีสุดท้ายระหว่างเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ ชัตเติ้ลเวิร์ธตั้งบริษัท Thawteมีความเชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต และ ดิจิตัลเซอร์ติฟิเกต เป็นบริษัทแรกที่จัดตั้งอี-คอมเมิร์ซ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ที่มีการเข้ารหัสระบบความปลอดภัยเต็มรูปแบบ ในวงการถือเป็นบุคคลชั้นนำของโลกด้านนี้

เขาขาย Thawte ให้กับ Verisign ไปในปีเดียวกัน ได้เงินมาราวๆหมื่นกว่าล้านบาท แล้วก่อตั้งบริษัท HBD Venture Capital ขึ้นมาเพื่อบ่มเพาะธุรกิจและสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจใหม่ๆ

ความสนใจ ที่มีต่อโอเพ่นซอร์ส ซอฟต์ของชัตเติ้ลเวิร์ธ นั้นมีมานานแล้ว เขาเป็นหนึ่งในคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา เดเบียน ลินุกซ์ ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ หลังจากเลิกวุ่นวายกับอวกาศ ก็กลับมาสู่วงจรของโอเพ่นซอร์ส อีกครั้งด้วยโครงการอูบุนตู

ในเวลาเพียงไม่กี่ปี อูบุนตู ก็ขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าของลินุกซ์

คาด กันว่าปีหน้าจะเป็นปีทองของลินุกซ์ หลังจาก เดลล์ คอมพิวเตอร์ขายคอมพิวเตอร์ที่ลงอูบุนตู พร้อมบริการหลังการขายในอเมริกา และยุโรปหลายประเทศ ตามด้วย เอชพี และ เลอโนโว ขณะที่ เทสโก้ก็ทำอย่างเกียวกันแต่ไม่รวมบริการหลังการขาย

มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ เป็นคนที่น่าพูดถึงไม่ใช่เพราะความดัง ความสำเร็จอะไร แต่เพราะวิธีคิดและปรัชญา ความมุ่งมั่นของเขาที่ทุ่มเทให้กับโลกใบนี้

---------------------------------------------------------------------------------------
อ่านแล้วเป็นเยี่ยงไรกันบ้างครับ
ท่านสามารถรับชมในแบบ multimedia ได้ที่
http://www.fukduk.tv/9/008 ตอนที่ 8 #from spaces to others

ที่มา: http://forum.ubuntuclub.com/forum/topic,2642.0.html

No comments:

Post a Comment