Wednesday, January 31, 2007

Help CHM File

ในระบบปฎิบัติการ วินโดวส์ ไฟล์ help ส่วนมากจะเป็น .hlp หรือ ไม่ก็ .chm เรามาทำให้โปรแกรมจาวาเรียก ไฟล์ chm กัน


Runtime.getRuntime().exec("hh.exe file.chm");

เราจะเป็นว่าเราได้สร้างโพรเซสที่มีการเรียก hh โปรแกรม (c:\windows\hh.exe) ไอ้โปรแกรมตัวนี้ล่ะครับที่เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ chm อ่านอ่ะนะ ในระบบปฎิบัติการ ลินุกซ์ ก็มีโปรแกรมเปิดไฟล์ chm เช่นเดียวกันขอบอก

Tuesday, January 30, 2007

Java Netbeans tip collapse code

- ใน Studio dot net มันจะมีการ collapse code ที่เราเห็นแล้ว เคียงสายตา ^^
- ใน Netbeans ก็มีอ่ะนะ

// <editor-fold defaultstate="collapsed" desc=" Collapse comment">
...........Code java...........
// </editor-fold>

Thursday, January 25, 2007

Saturday, January 20, 2007

JTextField only digit


// Add feature to JTextField
// MyJTextField.java
import java.awt.event.KeyAdapter;
import java.awt.event.KeyEvent;
import javax.swing.JTextField;


public class MyJTextField extends JTextField {

/** Creates a new instance of JOnlyDigitField */
public MyJTextField() {
initFeature();
}

public MyJTextField(int width) {
super(width);
initFeature();
}

int length = 9; // real 10
JTextField txfThis = this;

public void setLength(int length) {
this.length = length - 1;
}

public int getLength() {
return length;
}

public void initFeature() {
this.addKeyListener(new KeyAdapter() {

public void keyTyped(KeyEvent e) {

char c = e.getKeyChar();

if ((!(Character.isDigit(c)
|| c == KeyEvent.VK_BACK_SPACE)
|| (c == KeyEvent.VK_DELETE))) {
e.consume();
}

if (txfThis.getText().length() > length)
e.consume();
}
});
}

}

Sunday, January 14, 2007

Set user no password on MySQL Server

  • Hi ^^ ปกติเมื่อเราติดตั้ง MySQL Server เราสามารถล็อคอินโดยไม่มีรหัสผ่านเข้าไปได้ แต่เมื่อเราได้ตั้งรหัสผ่าน แล้ว เราต้องการจะ กลับมาใช้แบบไม่ใส่รหัสผ่านเหมือนเดิมได้อย่างไร
  • เราสามารถจัดการผ่าน phpMyAdmin ได้เลยครับ
  • ใช้ command line ครับ mysql> SET PASSWORD FOR 'root'@ 'localhost' = '';
  • แต่ถ้าต้องการตั้งรหัสก็ต้องงี้


mysql> SET PASSWORD FOR 'root'@ 'localhost' = password('we
password');

or

mysql> set password=password('we password');



Note:
  • เราสามารถเข้ารหัสได้โดยเรียกฟังก์ชั่น password('');
  • select password('helo');

GDM Error (linux)

Hi ^^
วันก่อน นั่งลง Cents แล้วก็ปรับแต่งอินเทอเฟสซักกะหน่อย ไปดาวน์โหลด gdm theme มาลง พอตอนล็อคเอาท์ ออกไป มันขึ้น

There was an error loading the theme [name] gdm
bad stock label type

กด Ok ยังไงก็ไม่ไปใหนเลยอ่ะ T_T นึกว่าจะได้นั่งลงใหม่ซะแล้ว แต่ลองหาวิธีแก้ดูก็พบครับถาม google ดู

Try this:

* Hit CTRL+ALT+F1 to get into the first of the console screens, and login as normal user.
* Run "xinit -- :1" to open a new X.
* Move the mouse into the terminal window and run: gnome-session.
* Try to fix your problem by running gdmsetup
* Hit CTRL-C in the first terminal, to abort gnome-session

- เมื่อมันขึ้นหน้าจอ Error popup ให้เราเข้าไปใน textmode ครับ โดยการกด Ctrl+Alt+F1
- ล็อคอินเข้าด้วย user root พิมพ์คำสั่งดังนี้
# xinit -- :1
- จะได้หน้า x window หน้าหนึ่ง และจะมี เทอมินอลอันหนึ่ง ให้เราพิมพ์ gnome-session ในเทอมินอลนั้น
- มันก็จะรัน gnome window ขึ้นมาให้เรา เราก็เข้าไปปรับแก้ gdm ได้เลยครับ พอปรับแก้เสร็จก็กด close เทอมินอลที่มันขึ้นตอนแรก
- พอเรากด close มัน มันก็จะเข้าสู่หน้า ล็อคอิน อีกครั้ง แล้ว Error popup ก็จะหายไปเพราะเราได้ปรับ gdm อันใหม่แล้ัว

เย่ ไม่ต้องลงระบบใหม่แล้วเรา ^^

Tuesday, January 9, 2007

อะไรคือปัญหาของการเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาจาวา

Hi ^^ ที่มา narisa.com ครับ ตอบดีมากเลยอาจารย์ minimalist

คุณคิดว่าปัญหาของการเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาจาวาไม่รู้เรื่องมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วเป็นเนื้อหาในส่วนใดที่มีปัญหามากที่สุด

เป็นคำถามที่เจอบ่อยมาก ๆ คำถามหนึ่ง

ปัญหาที่สร้างความลำบากในการเริ่มต้นกับ Java คือ

1. การสร้างมุมมองด้าน Object คือ ต้องสร้างหรือปรับทัศนคติให้ได้ ตีความเก่ง ๆ ตีทุกอย่างที่ขวางหน้าเป็นโลกอ็อบเจ็คต์ให้ได้

2. พื้นฐาน Object-Orientation เข้าใจศัพท์แสงและหลักการ เช่น Encapsulation, Polymorphism, Inheritance,
Override, Overload, Classification, Generalization, Specialization, Aggregation, Composition,
Navigability, Multiplicity, Realization, Visualization, Construction ฯลฯ

3. Java Syntax เช่น reserved words, การตั้งชื่อ, รายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรประเภทต่าง ๆ, การประกาศตัวแปร,
การสร้างเมธอด คลาส อินเตอร์เฟซ เป็นต้น

4. พื้นฐาน Java ที่จำเป็น เช่น Java Architecture (เช่น การทำงานของ JVM), Exception, Collection API เป็นต้น

5. มี API, Library และเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Java มากมาย (อะไร ๆ ก็มักขึ้นต้นด้วย 'J') สร้างความสับสนงงงวย (จะศึกษาไป
ทางไหนดีวะ!?) ศึกษาไปศึกษามาเริ่มออกทะเล ไม่แข็งไม่เก่งอะไรสักอย่าง แต่ดันทะลึ่งเขียนโปรแกรมได้ แล้วโปรแกรมก็ดันทะลึ่ง
ทำงานได้ด้วย

6. ไม่มีคนใกล้ตัวที่เชื่อใจได้ว่าเก่ง Java จริง (สามารถจับต้องมองเห็นหน้าได้ ไม่ใช่ในเว็บบอร์ด)

7. ผู้คนมากมายพูดถึงพวก JSP, JSF, Servlet, EJB, Spring, Struts, Hibernate ฯ ก็เลยอยากใช้มั่ง อยากทำเป็นมั่ง

8. ใจร้อน อยากเรียน Part ชั้น อยากสอบเทียบ ทั้ง ๆ ที่พื้นฐานยังไม่แข็ง แถมสอบเทียบได้ก็ยังไม่รู้จะเรียนอะไรต่อหรือจะไปทำอะไรต่อ

9. ครูบาอาจารย์หลายท่านอ่านหนังสือมาสอน บางท่านไม่ได้สอน Java โดยตรง แต่สอนประกอบวิชาหลัก แล้วรายละเอียดด้าน
Java ให้นักศึกษาไปเรียนและฝึกเอาเอง แต่ตอนให้นักศึกษาทำโปรเจ็คต์ดันบังคับให้ใช้ Java

10. หนังสือ เอกสาร และตำราดี ๆ มักเป็นภาษาอังกฤษ และไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ยังไงก็ต้องอ่าน ดังนั้นต้องรักการอ่านก่อน

11. มีแนวคิดหรือพะวงกับ Database มากไป และเป็นพวกยึดติดกับ Database ประมาณว่า ER Diagram ยังไม่ออก ชั้นทำอะไร
ไม่ได้ จะคิดถึงคลาสสมองอีกซีกก็ชอบไปคิดถึง Table

12. ไม่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ด้าน Software Engineering ที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์แบบ Object
เพราะส่วนมากที่เรียนกันมาเป็นแบบ Waterfall Model

ประมาณนี้ครับ....

สำหรับบันไดขั้นแรก คือ ข้อ 1 และ 2 ครับ ถ้าสอบไม่ผ่าน แต่ข้ามไปศึกษาและทำอย่างอื่นต่อ สุดท้ายก็จะตกม้าตาย
สำหรับข้อ 2 หลายคนเข้าใจว่าไว้ไปเรียน หรือ ควรสอน ตอนปริญญาโท หรือ ตอนจะฝึกด้าน Analysis and Design แต่จริง ๆ แล้ว
ควรศึกษาก่อนศึกษา Java ด้วยซ้ำ คือแค่ศึกษาให้เข้าใจหลักการ ไม่ต้องถึงกับเขียน UML อะไรทั้งนั้น
สำหรับข้อ 3 นั้น Java Syntax จริง ๆ มีน้อยมาก ฝึกฝนแค่สัปดาห์เดียวก็พอแล้ว ไม่ต้องเอาลึกซึ้งมาก แต่ต้องได้พื้นฐานที่ดี
สำหรับข้อ 4 เอาแค่พื้นฐานและสิ่งที่จะได้ใช้บ่อย ๆ พอ พวก I/O, Thread, Swing, AWT ไม่ต้องไปศึกษา เพราะเดี๋ยวนี้
ไม่ค่อยได้ใช้โดยตรงมากนัก เอาไว้เจองานหรือโปรเจ็คต์ที่จะได้ใช้แล้วค่อยหาเวลาศึกษาก็ได้ แต่พวก Exception, Collection API
อะไรพวกนี้สำคัญ และใช้บ่อย ก็ควรมีพื้นฐานด้านนี้ไว้

แต่ก่อนผมสอน Java Programming ผมสอนหมดเลย สุดท้ายตอนหลังได้ไอเดียจาก อาจารย์ ธนชาติ นุ่มนนท์ ว่าสอนไปก็เสียเวลา
ทั้งเวลาเราและเวลาคนเรียน เช่น เรื่อง Thread ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจละเอียดต้องใช้เวลาจริง ๆ อย่างน้อย 1 วัน หรืออย่าง I/O,
Swing ก็เช่นกัน กลายเป็นว่าทำให้คนเรียนเขาเครียดเปล่า ๆ เรียน Java แล้วรู้สึกเครียด ยาก... ทั้ง ๆ ที่เดี๋ยวนี้ศึกษา Java ไป
ก็ไปทำเว็บกันหมด I/O, Thread, Swing แทบไม่ได้ใช้เลย ดังนั้น สอน / ศึกษา เท่าที่จะได้ใช้บ่อย ๆ จริง ๆ พอ...
ศึกษาแต่พอเพียง ต้องพอเพียงอย่าโลภ คนเรียน/นักเรียน/ผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษา Java ส่วนมากมักคิดว่า ฉันจ่ายค่าเรียนมาแล้ว
ฉันซื้อหนังสือมาหลายบาท ฉันต้องศึกษาทุกอย่างที่มีใน Java ซึ่งในความเป็นจริงคงเป็นไปไม่ได้
เดี๋ยวนี้ผมเลิกสอน Java Programming และวิชา Programming แล้ว เพราะมักโดนด่า
เพราะวิชาด้านนี้ชอบสอนตามใจตัวเอง ตามใจนักเรียนไม่ได้... เพราะอาจโดนด่าหนักกว่า ส่วนมากมักคาดหวังว่าเรียนแล้วกลับไป
ต้องทำงานได้จริง... ซึ่งจริง ๆ แล้วคงไม่ได้ ต้องศึกษาอีกหลายอย่าง ไม่ใช่อยากเขียน Java เป็นก็ไปเรียน Java Programming
อยากเขียน EJB เป็น ก็ไปเรียน EJB Programming อย่างนี้พวกวิชา หรือตำราอื่น ๆ เขาจะมีไว้ทำไมกัน

สำหรับข้อ 5 เป็น Case ที่ผู้ที่เพิ่งเริ่มกับ Java เป็นเหมือนกันหมด ผมก็เคยเป็น เพราะมันเยอะเหลือเกิน ศึกษาออกทะเลกันหมด
ดังนั้นต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าศึกษา Java ไปเพื่ออะไร จะเอาไปทำอะไร ทำซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นด้านไหน
เหมือนคนที่เพิ่งเริ่มศึกษา XML ไม่รู้ชัดเจนว่าจะเอาไปทำอะไรก็ศึกษามันหมด เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็ X... อะไร ๆ ก็ ..ML เดี๋ยว XSL
XSLT XPath XXXXXXXXX...... ศึกษาไปศึกษามาจริง ๆ แค่ต้องการฝึกอ่านและเขียน Deployment Descriptor ใน J2EE
แค่นั้นเอง

สำหรับข้อ 6 จะลอกข้อสอบเพื่อน แน่ใจแค่ไหนว่าเพื่อนเราเก่งจริง!? เดี๋ยวนี้คนเขียน Java 'ได้' มากมาย แต่หลายคนในนั้นอาจ
เขียนไม่ 'เป็น' จริง ๆ ก็ได้ ดังนั้นการจะถาม ศึกษา อ่าน หรือ ฟังใคร ต้องใช้หลัก 'กาลามสูตร' ของพระพุทธเจ้าให้ดี

สำหรับข้อ 7 และ 8 ต้องอย่าใจร้อน ค่อยเป็นค่อยไป คนฉลาดย่อมเคยเป็นคนโง่มาก่อน ผู้รู้ย่อมเคยไม่รู้มาก่อน อย่าใจร้อน อย่าเห็นแก่งาน
อย่าเห็นแก่เงิน อย่าเร่งรีบอวดโชว์ใคร อย่าเร่งรีบวิ่งตามใคร ค่อย ๆ ศึกษาและฝึกฝนไป วันนี้มองไปข้างหน้าอาจเห็นแต่หลังคนอื่น
วันหน้าอาจเป็นคนอื่นที่ต้องมาเห็นหลังเราแทน

สำหรับข้อ 9 เป็นความจริงในหลายสถาบันการศึกษา อาจารย์หลายท่านจากหลายมหาวิทยาลัยก็เคยเล่าให้ฟัง (อาจารย์น่ารักและ
น่าชื่นชมมาก ที่เปิดเผยและจริงใจ) ที่หลายท่านยังไม่ชำนาญกับ Java เลย แต่ต้องสอน เพราะอาจารย์เองก็ต้องวิ่งตามโลกให้ทัน
หลายท่านน่าสงสารเพราะหลายเหตุผล เช่น บุคลากรด้านนี้มีน้อยมาก เงินเดือนน้อย เทอมหนึ่ง ๆ อาจารย์บางท่านต้องสอนไม่ต่ำกว่า
ห้าวิชา แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปศึกษาไปวิจัยเพิ่มเติม อาจารย์หลายท่านท้อและเหนื่อยกับการสอน Java Programming (เหมือนที่
ผมก็เคยเป็น) เพราะมันต้องปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกันไปด้วย ถึงจะ 'Work'

สำหรับข้อ 10 ต้องฝึกเป็นคนรักการอ่าน ชอบศึกษา และต้องศึกษาภาษาอังกฤษ ไม่ต้องถึงกับไปลงเรียนภาคอินเตอร์ฯ ให้เปลืองตังค์
คนที่จะอยู่รอดกับ Java ได้ต้องรักการศึกษาแบบกัดไม่ปล่อย ปล่อยเมื่อไหร่โดนกระแสเทคโนโลยีพัดตกเหวตาย ดังนั้นใครที่ไม่ชอบ
อ่านหนังสือ ไม่ชอบศึกษาเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ไม่ชอบภาษาอังกฤษ... วันนี้อาจยังใช้ Java อยู่ แต่อีกไม่นานจะหย่าขาดจาก Java แน่ ๆ
เชื่อสิ ไม่มีใครบังคับด้วย แต่คุณเองล่ะที่จะทนตัวเองไม่ได้ และเบื่อ เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแทน

สำหรับข้อ 11 และ 12 เป็นพื้นฐานที่สำคัญ ต้องปรับ ต้องจูน ต้องเข้าใจกระบวนการ

======================================

ประมาณนี้ครับ (ยาวอีกละ)

ป.ล. เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยไม่ใช่แหล่งความรู้ และถ่ายทอดวิชาความรู้อีกต่อไป แต่เป็น 'ธุรกิจ' ด้านการศึกษาชนิดหนึ่ง
แข่งกันเข้าไป...

minimalist (ณรงค์)
3 มกราคม 2550

# comment by myself
- อือ ผมชอบข้อ 7 นะ เราพยายามหาความรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้มากเกินไป ทำให้ ไม่ได้เรื่องซักกะอย่างเลย
เหมือนตัวเองมากเลย อยากรู้นั้น นี่ไปหมดทุกอย่างแต่ มันไม่ได้เรื่องซักกะอย่าง เลยครับ ^^'
- ต่อไปจะศึกษาแต่เรื่องที่ชอบครับ
- แล้วก็อีกอย่างที่โดนมาก ข้อ5 ครับ มีเยอะจริงๆ นะ เลยไม่รู้จาเริ่มตรงใหนดีอ่ะ - -

Java 6.0 with Netbeans

Hi ^^ ที่มา narisa.com

ปกติ​เมื่อเรา​ใช้​ JDK SE 5 ​และ​ทำ​งาน​กับ​ NetBeans
ถ้า​เราสร้าง​ Java Application ​แล้ว​ทำ​การ​ Clean and Build Main Project
เรา​จะ​ได้​โฟลเดอร์​ dist ​ที่มี​ไฟล์​ jar ​และ​โฟลเดอร์​ lib ​อยู่​ภาย​ใน
ซึ่ง​ใน​ lib ​นั้น​จะ​มี​ไฟล์ที่ชื่อ​ swing-layout-1.0.jar ​หรือ​ swing-layout-1.0.1.jar ​อยู่​ภาย​ใน

หลัง​จาก​ที่​เปลี่ยนมา​ใช้​ Java SE 6 ​ปรากฎว่า​ไม่​มี​ไฟล์​ swing-layout ​อีก​แล้ว
เลยทำ​ให้​นึกขึ้นมา​ได้​ว่า​ sun ​เคยประกาศ​ไว้​แล้ว​ว่า​ ​จะ​รวม​ swing-layout
ไว้​ใน​ Java SE 6 ​ดัง​นั้น​ท่าน​ใด​ที่ทำ​งานบน​ Java SE 6 ​ควรระวังเมื่อนำ​งานไป​ใช้​บนจาวา
เวอร์ชั่นเก่า​ด้วย​นะคับ​

Monday, January 8, 2007

คาถา

Hi ^^ ที่มา zone-it.com

คาถาเสกขี้ผึ้ง
มทุจิตตัง สุวามุปขังทิตสวานิมามัง ปิยังมะมะเมตตา ชิวหายะมะ ทุรังทะตวาจาจัง สุตทังสุตตะวา
สัพเพชะนาพะ หุชะนาอิตถีชะนาสัมมะนุนะ พรามมะนา นุนะปะสังสันติ
(ท่องคาถานี้ เสก กับขี้ผึ้ง หรือ วาสลีน หรือ ลิปสติก ทาปาก เพื่อให้ เขารักใคร่ ท่าน )

คาถาสาริกาลิ้นทอง
พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ
พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต
(ท่อง ให้จบ บรรทัดแรก แล้วเอามือแตะลิ้น แล้วท่อง บรรทัดที่สองต่อได้เลย
ท่องเพื่อให้ คนนิยมชมชอบ จากคำพูดของท่านเอง )

คาถามัดใจ
พุทธัง รัตตะนัง ธัมมัง รัตตะนัง สังฆัง รัตตะนัง นะผูก โมมัด พุทรัด ธารึง ยะกรึงคะเร โอมสวาหะ
(ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ทำให้คนที่ท่านรักคิดถึงท่าน)

คาถาผูกใจคน
โอมนะโมพุทธะ นะ มะ อะ อุ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ใช้เสกกับแป้งหรือน้ำหอมก็ได้ เพื่อให้ คนรัก คนชอบ เยอะๆ)

คาถาใจอ่อน
ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะอตใจ นะกาโร โหติ สัมภะโวตรีนิกัตวานะ นะ การัง ปัญจะสัมภะวัง
(ใช้ท่องก่อน ที่จะไปเจรจา ไม่ว่าจะเรื่องใด ก็ตาม คนที่ท่านไปเจรจา จะ ใจอ่อน ผ่อนปรนให้กับท่าน)

คาถามหาเสน่ห์
จันโทอะภกันตะโรปิติ ปิโย เทวะมนุสสานังอิตภิโยปุริ โสมะ อะ อุ อุ มะ อะ อิสวาสุ อิกะวิติ
(ให้ภาวนาคาถานี้ ๓ จบก่อนออกไปพบคนที่ท่านรัก จะทำให้เขาเกิดความรักใคร่ในตัวท่าน)

คาถาขุนแผน
เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
(ใช้ท่อง เสกใส่ ของที่ ท่าน มักเอาติดต่อ ประจำ ไม่ว่าไปที่ไหน
จะทำให้มีแต่คนหลงใหล)

คาถารักแท้
โอมนะโมพุทธายะ พุทธัง สะระติ ธัมมัง สะระติ
สังฆัง สะระติจิตตังสะมาเรมะมะเอทิ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ให้บริกรรมคาถานี้กับลูกอม หรือ ของขบเคี้ยว แล้วอมไว้
ในขณะที่คุยกับคนที่ท่าน รัก จะทำให้เขาคนนั้นเกิดความรักจริงจังขึ้นมากับท่าน)

คาถาป้องกันผี
นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะสัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา
สัพเพยักขาปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธังเวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธังอะฬะวะกัสสะ
ทุสาวุธังยะมะนัสสะ นะยะนาวุธังอิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ
( อันนี้ คงไม่ต้อง ให้บรรยายสรรพคุณ หรอกนะครับ)

คาถาป้องกันตัว
ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะกาโร โหติ สัมภะโวพินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิริ นะโมพุทธายะ
(ใช้ท่องภาวนาเป่าใส่มือ แล้วตบมือดังๆ จะทำให้ปลอดภัยจากอันตรายไม่ว่าคนหรือสัตว์)

คาถาข่มศัตรู
ตะโต โพธิสัตโต ราชะสิงโหวะมหิทธิโกอะระหัง ตะมัตทังปะกาเสนโตราชะสิงโห สัตถาอาหะ
นะโมพุทธายะ นะมามิสุคะตังชินัง
(บริกรรมคาถา นี้ ๓ จบ ก่อนออกไป พบศัตรู แล้วกระทืบเท้าดังๆ ก่อนออกจากบ้าน จะทำให้ศัตรูเกรงกลัว )

คาถาหนังเหนียว
สุกิตติมา สุภาจาโร สุสีละวา สุปากะโต อัสสะสิมา วะเจธะโร เกสะ โรวา อะสัมภิโต
(สวดภาวนาคาถา แล้วเสกน้ำมัน ถู ตามร่างกาย ก่อน ไปต่อสู้)

คาถาหมัดหนัก
โสภะคะวา อะทิสะมานิ อุเทยยัง คัจฉันตัพพังสังลารัง ปะระมัง สุขัง
นะลัพภะติมหาสูญโญ จะสัมภะโต สังสาเร อานังคัจฉันติ
(เมื่อจำเป็นต้องต่อสู้ ก็ ท่องคาถานี้ เพื่อให้ อานุภาพของหมัด หนัก ขึ้น)

หมายเหตุ ทั้งหมด นี้ ต้องอาศัย สมาธิ ความตั้งใจจริงแน่วแน่ อย่างแรงกล้า
สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งกำหนด ความมีอานุภาพ ของ คาถา ข้างต้น
และที่สำคัญ ต้อง ไม่ ไปใช้กับ คนที่มีเจ้าของแล้ว นอกจากเขาเลิกกันแล้ว เท่านั้น

Sunday, January 7, 2007

Xmms ubuntu อ่านเพลงไทยไม่รู้เรื่อง

Hi ^^

พยายามแก้มาตั้งนานครับก็เข้าไปที่เว็บเดิมๆ ที่เข้าประจำครับ (ubuntuclub.com) พอดีเค้าตั้งกระทู้ถามกันเราก็เลยพลอยได้ความรู้ด้วยครับ

sudo apt-get install xfonts-thai-nectec

ปรับ Preference xmms ซักกะหน่อยก็ใช้ภาษาไทยได้แหละ

linux ตัวอักษรอ่านไม่รู้เรื่องครับ

Hi ^^
ปัญหา
- เมื่อเราติดตั้งลินุกซ์บนเครื่องที่มี os อื่นอยู่แล้ว ลินุกซ์บางตัวจะ mount ให้โดยอัตโนมัติ แล้วเมื่อเราเข้าไปใช้งานไดรว์ที่มัน mount ให้เราก็ปรากฏชื่อไฟล์อาไรก็ม่ายรู้ บางไฟล์เป็น ???? แบบนี้ก็มี
- หรือ เมื่อเรานำแผ่น ซีดีอาร์ ไปเปิด ก็เป็นเหมือนกัน

สาเหตุ
- การเข้ารหัสภาษาไม่ตรงกัน

วิธีแก้ปัญหา
- ให้เราเข้าไปแก้ไขที่ ไฟล์ /etc/fstab ครับ
/dev/sda1 /media/win1 vfat umask=0000,iocharset=utf8 0 0
- ถ้ามันอ่านไม่รู้เรื่องอีกก็เปลี่ยนไอ้ตัวสีแดง เป็น iocharset=tis-620 แทนครับ
- ถ้าอ่านไม่รู้เรื่องอีกก็คงเป็นที่สาเหตุอย่างอื่นอ่ะนะ
-เราสามารถทำเช่นนี้กับ อุปกรณ์อย่างอื่นได้เช่นเดี่ยวกันเช่น ซีดีรอมของเราครับ

ความรู้ดีๆ แบบนี้ได้มาจาก ubuntuclub.com

Install fonts to linux

Hi ^^
2 way

- share every user in system /usr/share/fonts
- for only each user /home/user/.fonts

begin
- u can copy folder of fonts to follow path
/usr/share/fonts or /home/user/.fonts
- config fonts.cache-1 in folder /usr/share/fonts
exam
if font folder name is "thai"
u append this word into fonts.cache-1

"truetype" 0 ".dir"
"type1" 0 ".dir"
"X11" 0 ".dir"
"bitmap-fonts" 0 ".dir"
"bitstream-vera" 0 ".dir"

"thai" 0 ".dir"

- and save file
- restart
- Start -> Perference -> font
this list have your fonts

Popular Posts